วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
แบบธรรมเนียมประเพณีไทย
แบบธรรมเนียม ประเพณีไทย
การแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพอันเป็นมารยาทของคนไทย นิยมการประนมมือการไหว้ และการกราบ
การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถานในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว ไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้แค่อก
การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบห้าอย่างได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่หน้าผากให้จรดกับพื้นเป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ ท่าเตรียมตัว นั่งคุกเข่า (ชายตามแบบชาย หญิงตามแบบหญิง) มือทั้งสองทอดวางเหนือเข่าทั้งสองให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดกัน - จังหวะที่หนึ่ง ยกมือขึ้นประนมไว้ระหว่างอก ตามแบบการประนม - จังหวะที่สอง ยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วตามแบบการไหว้ พระรัตนตรัย - จังหวัะที่สาม ก้มตัวลง ปล่อยมือทั้งสองให้ทอดลงกับพื้นโดยแบมือทั้งสองให้ข้อศอกต่อกับเข่าทั้งสองข้าง (สำหรับชาย) และให้ศอกทั้งสองข้างขนาบเข่าทั้งสองไว้(สำหรับหญิง) ให้ระยะมือทั้งสองห่างกันประมาณ ห้านิ้ว ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองแล้วยกมือประนมขึ้นผ่านจังหวะที่หนึ่สอง และสามไปตามลำดับให้ต่อเนื่องกันทำติดต่อกันไปจนครบสามครั้ง เมื่อครบสามครั้งแล้วพึงยกมือขึ้นไหว้ตามแบบพระรัตนตรัย แล้วเปลี่ยนอริยาบทเป็นนั่งพับเพียบหรือลุกขึ้นตามกาลเทศะ การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
๑) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
๒) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
๓) หมอบลงตามแบบหมอบ
๔) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
๕) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
๖) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้งมารยาทไทย มารยาทในอริยาบทต่าง ๆ ตามแบบวัฒนธรรมไทย มีแบบเฉพาะที่พึงปฏิบัติทั้งในเวลาศาสนพิธีและพิธีอื่น ดังต่อไปนี้
๑.การยืน การยืนมีแบบที่ควรทราบและถือปฏิบัติทั้งในเวลายืนตามลำพัง ยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่และยืนแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ
ดังนี้ ๑) การยืนตามลำพัง ควรอยู่ในลักษณะสุภาพ สบาย ขาชิด ตั้งตัวตรง ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา
๒) การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้างลำตัว ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงหรือพระสงฆ์ หรือเป็นการยืนหน้าที่ประทับควรค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อยมืออยู่ในลักษณะคว่ำซ้อนกัน จะเป็นมือข้างไหนทับมือข้างไหนก็ได้ หรือจะประสานมือทั้งสองอย่างหลวมๆ หงายมือทั้งสองสอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือก็ได้
๓) การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี ถ้าแต่งเครื่องแบบให้ยืนตรง แล้วกระทำวันทยาหัตถ์ ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรงแล้วถวายคำนับ การถวายคำนับให้ก้มศีรษะ และส่วนไหล่ลงช้า ๆ ให้ต่ำพอสมควรแล้วกลับมายืนตรง อย่าผงกศีรษะ ถ้าสวมหมวกอื่นที่มิใช่ประกอบเครื่องแบบต้องถอดหมวกก่อนแล้วจึงถวายคำนับ สำหรับหญิง ให้ยืนตรงเท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน ชักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปทางหลังโดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของเท้าที่ยืน ทำพร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้าๆ เมื่อจวนจะต่ำสุดให้ยกมือทั้งสองวางประสานกันบนหน้าขาที่ย่อให้ต่ำลง โดยให้หน้ามือประสานกันและให้ค่อนไปทางเข่า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย จากนั้นเงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักเท้าที่ไขว้กลับที่เดิมและตั้งเข่าตรง
๔) การยืนแสดงความเคารพเมื่อมีการบรรเลงเพลงเคารพ เพลงเคารพได้แก่เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีให้ยืนขึ้นแล้วระวังตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านหรือพระบรมฉายาลักษณ์หรือประธานที่ชวนเชิญถวายพระพรในขณะนั้น ให้ยืนตรงอยู่จนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ต้องถวายความเคารพเมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยินเพลงชาติ ให้ยืนระวังตรง จนจบเพลง แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ ซึ่งใช้ในการเริ่มพิธีสำคัญ ๆ ให้ยืนขึ้น อย่างสุภาพหันหน้าไปทางประธานในพิธี เมื่อจบเพลงแล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี เมื่อได้ยินเพลงมหาชัย ซึ่งใช้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
๕) ในเวลาที่อยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง เวลาจะลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนที่ไปไหน ต้องถวายความเคารพก่อนทุกครั้ง การยืนรับเสด็จเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านสำหรับชายยืนตรงถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวกให้ทำวันทยาหัตถ์
๒.การเดิน การเดิน มีการเดินตามลำพัง การเดินกับผู้ใหญ่ การเดินนำเสด็จ และตามเสด็จและการเดินไปในโอกาสต่าง ๆ มีแบบและวิธีปฏิบัติที่ควรทราบ
ดังนี้ ๑) การเดินตามลำพัง ให้เดินอย่างสุภาพ หลังตรง ก้าวเท้าไม่ยาวไม่สั้นเกินควร แกว่งแขนแต่พองาม
๒) การเดินกับผู้ใหญ่ ให้เดินทางซ้ายเยื้องมาทางหลังของผู้ใหญ่ อยู่ในลักษณะนอบน้อมไม่ส่ายตัว โยกศีรษะถ้าเป็นการเดินระยะใกล้ ๆ มือทั้งสองควรประสานกัน
๓) การเดินนำเสด็จและตามเสด็จ ควรปฏิบัติดังนี้ การเดินนำเสด็จ ให้เดินหน้าระยะห่างพอสมควรทางด้านซ้ายของพระองค์ท่าน ในกรณีที่เสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาท ผู้เดินนำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาทให้เดินในลักษณะเอียงตัวน้อย ๆ มาทางพระองค์ท่าน เพื่อได้สังเกตทราบหากจะประทับยืนค้อมร่างกายส่วนบนเล็กน้อย มือทั้งสองประสานกัน และยกขึ้นเหนือแนวเข็มขัดเล็กน้อยเมื่อถึงที่จะอัญเชิญประทับ ซึ่งเท่ากับกราบบังคมทูล ฯ ว่าถึงที่ประทับแล้วเมื่อจะถอยออกไป ให้ถวายคำนับครั้งหนึ่ง ก่อนที่ผู้นำจะนั่งที่ ต้องถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง การเดินตามเสด็จ ให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่านในอิริยาบถเดินกับผู้ใหญ่ คือเดินอย่างสุภาพหน้ามองตรง อยู่ในอาการสำรวมไม่ยิ้มหัวทักทาย หรือทำความเคารพพูดคุยกับผู้อื่น ๔) การเดินเข้าสู่ที่ชุมชน ควรเดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน ควรก้มตัวลงเล็กน้อยถ้าผู้นั่งเป็นผู้อาวุโสมากก็ก้มตัวให้มาก และระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือร่างกายไปกรายผู้อื่นถ้าไม่มีการกำหนดที่นั่ง ก็ให้นั่งเก้าอี้ที่สมควรโดยสุภาพ อย่าลากเก้าอี้ให้ดังอย่าโยกย้ายเก้าอี้ไปจากระดับที่ตั้งไว้ การเข้าสู่ที่ชุมนุมที่นั่งกับพื้นควรเดินอย่างสุภาพ เวลาผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อนควรค้อมตัวลงให้มากหรือน้อยสุดแท้แต่ระยะใกล้หรือระยะไกล ระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือส่วนของร่างกายไปกรายผู้อื่นถ้าผ่านระยะใกล้มากใช้การเดินเข่า วิธีการเดินเข่าให้นั่งคุกเข่าตัวตรง มืออยู่ข้างลำตัวแกว่งได้เล็กน้อย ยกเข่าขวาซ้ายไปข้างหน้าสลับข้างกันปลายเท้าตั้งช่วงเท้าพองาม ไม่กระชั้นเกินไป การเดินเข่าไม่นิยมใช้ในกรณีเข้าเฝ้าหรือเข้าพบผู้ใหญ่
๕) การเดินในที่ที่พระมหากษัตริย์หรือพระมเหสีประทับอยู่ เวลาเดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับ ให้ลุกขึ้นจากที่แล้วถวายความเคารพ แล้วเดินอย่างสุภาพเมื่อจะผ่านที่ประทับให้หันไปถวายความเคารพ เมื่อผ่านไปแล้วให้หันไปเคารพ และก่อนจะนั่งที่ใหม่ให้ถวายความเคารพก่อนนั่ง การเดินไปทำธุระใด ๆ เมื่อลุกจากที่และถวายความเคารพแล้วเดินไปยังที่จะทำกิจธุระเมื่อถึงที่ให้ถวายความเคารพแล้วจึงทำกิจธุระนั้น ขณะทำกิจธุระจะนั่งย่อเข่า หรือคุกเข่าหรือหมอบแล้วแต่กรณี ทำกิจธุระเสร็จแล้วลุกขึ้น ถอยหลังหนึ่งก้าว ถวายความเคารพแล้วเดินถอยหลังสามก้าว ถวายความเคารพ แล้วเดินกลับที่นั่ง ก่อนจะนั่งถวายความเคารพอีกครั้ง
๖) การเดินขึ้นลงเมรุ ในงานศพที่เสด็จพระราชดำเนิน ควรปฏิบัติโดยลำดับ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประชาชนทั่วไป พระภิกษุสามเณร เป็นอันดับสุดท้าย การปฏิบัติในการเดินขึ้นสู่เมรุ ให้ลุกจากที่นั่งถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพลงจากเมรุถึงพื้นถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพ ก่อนจะนั่งถวายความเคารพ
๓.การนั่ง การนั่ง การหมอบ และการนั่งคุกเข่าในงาน และในโอกาสต่าง ๆ
มีวิธีปฏิบัติดังนี้ ๑) นั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางชิดกัน เข่าแนบชิดกัน มือทั้งสองวางบนหน้าขาถ้าเป็นเก้าอี้ท้าวแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดบนท้าวแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างนั่งไขว่ห้างควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้ยกหน้าหรือเอนหลัง การนั่งลงศอกในกรณีนั่งเก้าอี้ ให้น้อมตัวลงเงยหน้าเล็กน้อย วางแขนทั้งสองลงบนหน้าขามือประสานกัน
๒) นั่งกับพื้น ให้นั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้าถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ให้เก็บปลายเท้า มือประสานกันไม่ท้าวแขน
๓) การหมอบ ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าก่อน แล้วหมอบลงไปให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้างแขนวางราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน ส่วนมือถึงศอกประสาน หรือประณมแล้วแต่กรณี
๔) การนั่งคุกเข่าให้นั่งตัวตรง วางก้นบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง มือทั้งสองประสานกัน หรือจะวางคว่ำบนหน้าขาก็ได้
๕) การนั่งหน้ารถพระที่นั่ง หรือรถที่นั่ง ก่อนที่จะขึ้นนั่งให้ถวายความเคารพก่อน แล้วขึ้นนั่งโดยหันหลังขึ้นนั่งพร้อมกับยกขาขึ้นตามไปด้วยนั่งตัวตรง ขาชิด เข่าชิด หลังแตะพนักแต่ไม่พิง มือประสานบนตัก สำรวมอิริยาบถแต่ให้ผึ่งผาย ไม่เหลียวหน้าไปทางใด
๔.การคลาน การคลาน เป็นมารยาทที่ปฏิบัติเวลานั่งอยู่กับพื้น แล้วต้องเคลื่อนที่ไปปฏิบัติกิจธุระต่างๆ มีแบบปฏิบัติดังนี้
การคลานลงมือ ใช้ในกรณีไม่ได้ถือของ โดยเริ่มจากนั่งคุกเข่าตัวตรง แล้วโน้มตัวลงเอานิ้วมือจรดพื้นโดยใช้ฝ่ามือติดพื้น นิ้วมือชิดกัน ปลายนิ้วชี้ไปข้างหน้า ปลายเท้าตั้ง คลานโดยสืบเข่าและมือไปข้างหน้า สลับข้างกัน อย่าให้ส่วนหลังโค้ง และอย่าให้หลังแอ่นจะทำให้สะโพกยกให้คลานตรง ๆ อย่าส่ายสะโพก คลานให้ระยะห่างของมือและเท้าเท่ากันตลอดทาง ให้มือขวาห่างกันเท่ากับความกว้างของช่วงไหล่อย่าก้มหน้า การคลานยกของ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคลานโยก ยกของมือเดียวคลานแบบหนึ่ง ยกของสองมือคลานอีกแบบหนึ่งการยกของคลานสำหรับหญิง ถ้าเป็นของเล็กยกมือเดียว ถ้าเป็นของใหญ่ยกสองมือสำหรับผู้ชายจะต้องยกสองมือเสมอ การคลานยกมือเดียว(สำหรับหญิงเท่านั้น) ให้ถือของด้วยมือขวาวางของไว้บนฝ่ามือ แขนขวาตั้งฉากกับลำตัวก้าวเข่าไปข้างหน้า พร้อมกับลากขาอีกข้างหนึ่งตามไป มือซ้ายแตะพื้นอย่างหย่งมือคือปลายนิ้วจรดพื้น ฝ่ามือพ้นพื้น เมื่อเข่าทั้งสองเสมอกันแล้ว ลดเข่าลงพร้อมกันปลายเท้าต้องตั้งอยู่เสมอ ตัวตั้งตรง หน้าตรง ให้ทำสม่ำเสมอตลอดระยะทางโดยไม่หยุดชะงักเป็นตอนๆ ถ้าจะถอยหลังก็คลานถอยหลังไปเหมือนเดินเข่า การคลานยกของสองมือ เป็นการคลานเหมือนคลานเช่น ในการแสดงโขน ละคร โดยถือของสองมือในระดับหน้าท้องแขนตั้งฉาก ไม่กางศอก นั่งคุกเข่า ยกเข่าไปข้างหน้า ตัวเฉียง พร้อมกับวาดเท้าอีกข้างหนึ่งไปหาเท้าของเข่าที่ยกไปปลายเท้าตั้ง ทำเช่นนี้สลับข้างกันไป ระหว่างคลาน ลำตัวตั้งตรง ค่อนข้างยกอก คลานถอยหลัง ยกเท้าข้างหนึ่ง วาดเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปวางเท้าของขาที่ยกไปทำสลับกันไป ถ้าเป็นแบบหญิง ให้ยกเข่าข้างหนึ่งตั้ง ลากขาอีกข้างหนึ่งตาม เมื่อเข่าเสมอกันลดลงพร้อมกัน ให้เข่าที่ตั้งถึงพื้นเข่าของขาที่ลากมาอยู่สูงกว่าพื้นเล็กน้อยยกเข่าข้างที่ไม่จรดพื้นไปข้างหน้า แล้วลากขาของเข่าที่จรดพื้นตามไป แล้วทำเช่นข้างต้นทำเช่นนี้สลับกันไปไม่หยุดชะงัก ส่วนการคลานถอยหลังใช้แบบเดินเข่า ๕.การแสดงความเคารพ
๑) การแสดงความเคารพระหว่างบุคคล การแสดงความเคารพขณะยืนอยู่ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ในกรณีที่แต่งเครื่องแบบและสวมหมวกใช้วิธีวันทยาหัตถ์ถ้าไม่สวมหมวกใช้วิธีก้มศีรษะในกรณีที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่มีหมวกเฉพาะชายใช้การเปิดหมวกส่วนหญิงจะสวมหมวกหรือไม่ก็ตามใช้ไหว้โดยไม่ต้องถอดหมวก สำหรับชายถ้าจะไหว้ก็ควรถอดหมวกเสียก่อน หรือถ้าไม่ได้สวมหมวกก็ใช้การไหว้ การแสดงความเคารพเมื่อนั่งอยู่กับพื้น ถ้าผู้ที่จะเคารพเป็นผู้ที่มีอาวุโสพอสมควรก็นั่งพับเพียบเก็บเท้ายกมือไหว้พร้อมกับน้อมตัวก้มศีรษะ การแสดงความเคารพเมื่อนั่งเก้าอี้ ถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสน้อย ก็หันไปไหว้ธรรมดาถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสมาก ก็หันไปน้อมตัวไหว้ ในกรณีที่ผู้ที่จะเคารพยังไม่ได้นั่งเก้าอี้ก็ให้เดินไปนั่งเก้าอี้ก่อนแล้วจึงไหว้
๒) การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระมเหสี ตามประเพณีไทยแต่โบราณใช้การถวายบังคม ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันทำได้ทั้งชายและหญิง แต่โอกาสที่หญิงจะถวายบังคมมีน้อย เพราะโดยมากใช้วิธีกราบการถวายบังคมมีวิธีการ ดังนี้ - นั่งคุกเข่ายกอก วางมือคว่ำบนหน้าขา สำหรับชายแยกเข่าออกเล็กน้อยสำหรับหญิงให้นั่งพองามนั่งบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง - ยกมือขึ้นประนมตรงระหว่างอก แล้วทอดมือที่ประณมนั้นไปข้างหน้าให้ปลายมือต่ำลงระดับท้องแต่ไม่ถึงห้อยพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วยกปลายมือกลับขึ้นวนหัวแม่มือทั้งสองจรดหน้าผากลำตัวเฉพาะเหนือเอวเอนไปข้างหลัง ชายเอนมากกว่าหญิง เงยหน้าขึ้นให้ตาอยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือระดับของลำตัวในขณะมือจรดอยู่ในระดับจรดหน้าผาก จะต้องเอนเล็กน้อยไม่ใช่ตั้งตรง หรือแหงนแค่คอท่าเอนนี้ลำตัวจะโค้งเล็กน้อย ศอกจะถ่างออก - ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า ให้มือลงมาถึงระดับหน้าท้อง ปลายมือต่ำ - ยกปลายมือขึ้นในท่าประณม ปลายมือตั้งพร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอกและยกตัวขึ้นตรง ทำเช่นนี้สามครั้ง แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ การถวายบังคมนี้ ถวายความเคารพเฉพาะพระพักตร์ หรือระยะใกล้พระองค์พอสมควรเมื่อถวายบังคมตอนเสร็จผ่านแล้ว ตอนเสด็จผ่านอีกไม่ต้องกราบ แต่ควรอยู่ในอาการสุภาพ
๖.การเข้าพบผู้ใหญ่ การส่งของและรับของ
๑) การเข้าพบผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่ยืนอยู่ให้ผู้เข้าพบเดินอย่างสุภาพเข้าไปใกล้พอสมควร อย่าให้ตรงหน้าผู้ใหญ่นักไหว้แล้วยืนสำรวมมือประสานกัน ถ้าผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ให้เดินอย่างสุภาพ เมื่อใกล้ผู้ใหญ่ให้ไหว้แล้วนั่งเก้าอี้ อย่านั่งตรงหน้าผู้ใหญ่ทีเดียว หรือจะเดินเข้าไปอย่างสุภาพไปนั่งเก้าอี้แล้วหันมาไหว้ การเข้าพบผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่กับพื้น ให้เดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อเข้าไปในระยะพอสมควรแล้วลงคลานลงมือเข้าไปใกล้ นั่งพับเพียบเก็บเท้า ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสน้อยใช้ไหว้แล้วนั่งแบบนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสมากใช้กราบแล้วนั่งลงศอกหรือหมอบ
๒) การส่งของให้ผู้ใหญ่ เมื่อผู้ส่งของและผู้รับของนั่งบนเก้าอี้ด้วยกัน ผู้ส่งก็น้อมตัวส่งให้ด้วยมือขวาถ้าของไม่หนัก ถ้าเป็นของหนักควรน้อมส่งให้ด้วยมือทั้งสอง ถ้าผู้รับนั่งอยู่บนเก้าอี้ผู้ส่งเดินเข้ามายืนระยะห่างพอสมควร แล้วโน้มตัวส่งให้ แต่ถ้าผู้ใหญ่อาวุโสมากผู้ส่งอาจเข้าไปนั่งคุกเข่าส่งให้ การส่งของให้ผู้ใหญ่ที่นั่งกับพื้น ผู้ส่งควรเดินเข้าไปในระยะอันควรแล้วลงนั่งพับเพียบ หรือเดินเข้าไปใกล้พอสมควรแล้วคลานไปนั่งส่งของให้แล้วไหว้หรือวางของลงก่อนแล้วไหว้ แล้วยกของส่งให้
๓) การแจกของชำร่วย ตามปกติของชำร่วยจะวางไว้บนพานหรือถาด ผู้แจกจับภาชนะสองมือ ถ้าเป็นพานก็จับที่คอพานแล้วยื่นพานให้ผู้รับแจกหยิบเอาเอง อย่าหยิบส่งให้ เว้นแต่แจกของชำร่วยในงานมงคลสมรสซึ่งเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือพานใส่ของชำร่วยตามแบบดังกล่าว และให้เจ้าสาวหยิบของชำร่วยให้โดยย่อตัวลงเล็กน้อย หรือย่อลงเข่าข้างเดียว หรือนั่งลงเข่าทั้งสองข้าง หรือนั่งพับเพียบตามแต่ผู้รับจะนั่งอยู่บนเก้าอี้หรือพื้นหรือมีอาวุโสอย่างไร แล้วหยิบของชำร่วยส่งให้ผู้รับ
๔) การรับของจากพระสงฆ์ ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่หรือนั่งในที่สูง ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเมื่อได้ระยะพอสมควรให้ยืนตรง น้อมตัวลงไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับพร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย สำหรับชายรับของจากมือของท่านได้ สำหรับหญิงให้แบมือทั้งสองชิดกันคอยรับสิ่งของที่ท่านจะปล่อยลงมาในมือให้ เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของเล็กนิยมน้อมตัวลงไหว้ พร้อมกับสิ่งของในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่และหนักก็ไม่ต้องไหว้รับแล้วค่อยหันตัวกลับเดินไปได้ ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยอาการสำรวม เมื่อเข้าไปใกล้พอสมควรให้ยืนตรงแล้วนั่งคุกเข่าข้างซ้ายยันเข่าขวา น้อมตัวลงยกมือไหว้ ยื่นมือทั้งสองออกไปรับของเช่นที่กล่าวมาแล้วเมื่อรับของแล้ว ถ้าของนั้นเล็ก ก็น้อมตัวลงไหว้พร้อมกับของนั้นอยู่ในมือถ้าเป็นของใหญ่และหนัก นิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงไหว้แล้วยกของนั้นด้วยมือทั้งสองประคองขึ้น ลุกขึ้นยืนหันหน้ากลับเดินไปได้ ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น ให้เดินเข้าไปด้วยกิริยาสำรวม เมื่อใกล้อาสนที่พระสงฆ์นั่งอยู่พอสมควรนั่งคุกเข่าลงแล้วเดินเข่าหรือคลานเข้าไปจนได้ระยะรับของแล้วนั่งคุกเข่าสำหรับชาย หรือนั่งพับเพียบสำหรับหญิง กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามหนแล้วยื่นมือทั้งสองไปรับของ เมื่อรับของแล้วนิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านขวามือกราบสามหน แล้วหยิบของนั้นด้วยมือทั้งสองประคอง เดินเข่าถอยหลังไปจนห่างพอสมควรแล้วลุกขึ้นยืนหันกลับเดินไปได้
๕) การรับของพระราชทานจากผู้อื่นซึ่งเป็นประธานในงาน โดยมากตั้งโต๊ะบูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์เสมอ ผู้รับจึงถือเสมือนรับพระราชทานจากองค์พระมหากษัตริย์เมื่อเข้าไปรับให้ถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ก่อน แล้วรับจากผู้มอบโดยไม่ต้องทำความเคารพผู้มอบเวลารับควรนั่งย่อเข่าข้างหนึ่งรับ เมื่อรับแล้วผู้รับหันหน้าไปทางพระบรมฉายาลักษณ์ถวายคำนับ เดินถอยหลังสามก้าว แล้วจึงกลับตัวเดินเข้าที่ ในการรับไม่ต้องทำ"เอางาน" แต่เมื่อรับแล้วต้องเชิญของเหมือนกับรับพระราชทานจากพระหัตถ์
๗.การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
๑) การเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่าน จะเป็นโดยประทับยานพาหนะ หรือเสด็จพระราชดำเนินก็ตามจะต้องถวายความเคารพในวิธีที่เหมาะสม จะเป็นยืนตรงถวายความเคารพตามเพศ วันทยาหัตถ์กราบหรือไหว้ ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ ใช้ยืนตรงถวายคำนับ หรือวันทยาหัตถ์ หรือกราบ หรือไหว้ ตามความเหมาะสมของสถานที่และการแต่งกาย ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยลาดพระบาท นิยมการนั่งเฝ้า ฯ หรือยืนเฝ้าก็ได้ ให้อยู่ห่างจากลาดพระบาทพอสมควรถ้ายืนเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่านก็ถวายความเคารพตามเพศ ถ้านั่งเฝ้าฯ เมื่อเสด็จ ฯ มาใกล้ผู้เฝ้า ฯ หมอบ ขณะเสด็จ ฯ ตรงตัวกราบ แล้วหมอบอยู่จนเสด็จฯ ผ่านไปแล้ว จึงลุกขึ้นนั่ง หรือจะเพียงกราบเมื่อเสด็จ ฯ ผ่านเท่านั้นก็ได้
๒) การเฝ้า ฯ ในงานที่นั่งเก้าอี้หรือยืนเฝ้าฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ผู้เฝ้าฯ ลุกขึ้นหันหน้าไปทางพระองค์เมื่อเสด็จ ฯ ผ่านให้ถวายคำนับ ในขณะประทับอยู่ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการนั่งในงาน ที่เสด็จพระราชดำเนินที่กล่าวแล้วในกรณีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องยืนจนจบเพลงแล้วถวายคำนับ แล้วจึงนั่ง
๓) การเฝ้า ฯ ในที่รโหฐาน ควรเข้าเฝ้าตามประเพณีไทย คือ คลาน หมอบกราบ เพราะเป็นการเฝ้า ฯ ภายใน ไม่เป็นพิธีการเมื่อจะเข้าเฝ้า ฯ ควรถอดรองเท้า โดยปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้ - เข้าไปในที่เฝ้า ฯ กราบ - คลานเข้าไปใกล้พระองค์ในระยะพอสมควร เฉลียงข้าง ไม่เฉพาะพระพักตร์แล้วกราบ - หมอบเฝ้า ฯ มือประณม ระหว่างหมอบนี้จะกราบบังคมทูล หรือฟังพระราชกระแสหรือถวายของแล้วแต่กรณี - เมื่อถวายบังคมลากลับ กราบ คลานถอยหลังมาระยะพอสมควร หรือจนสุดห้อง - เมื่อจะลุกขึ้นในห้องที่เฝ้า ฯ ต้องกราบอีกครั้งหนึ่ง
๔) การเข้าเฝ้ารับพระราชทานของ การเข้ารับพระราชทานของเป็นพิธีการใช้เดินย่อตัวรับพระราชทาน สำหรับแบบไทยหรือในพระราชสำนักหรือการเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานโดยไม่เป็นพิธีการ ควรคลานและหมอบ ดังนี้ การเฝ้า ฯ รับพระราชทานของและเป็นพิธีการมีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - ถวายคำนับตามเพศ แล้วเดินเข้าไปใกล้ พอสมควร - ถวายคำนับตามเพศ แล้วย่อเข่าซ้ายลงตั้งเข่าขวา - เอางาน (การเอางานเป็นการกระทำที่แสดงการถวายความเคารพ วิธีทำคือยกมือขวาขึ้นไปข้างหน้าให้เฉียงจากตัว ประมาณ ๔๕ องศา ปลายมือตรง นิ้วมือชิดกัน แล้วกระดกปลายมือขึ้นแล้วกลับที่เดิมเร็ว ๆ หนึ่งครั้ง ระวังอย่าให้ส่วนที่ยกขึ้นเลยข้อมือไป เวลาทำเอางานเมื่อรับพระราชทานของไม่ใช่พอกระดกมือขึ้น แล้วก็ช้อนมือลงในลักษณะหงายมือเพื่อรับของพระราชทานทีเดียว ต้องลดปลายมือลงเสียก่อน แล้วจึงช้อนมือ หรือแบมือรับพระราชทาน) - รับพระราชทานของ ถ้าเป็นของเล็กน้อย รับด้วยมือขวา ถ้าเป็นของใหญ่รับด้วยมือทั้งสองข้างโดยยกขึ้นเกือบจะพร้อมกับมือที่เอางาน - ลุกขึ้นยืน แล้วเดินถอยหลังครึ่งก้าวหรือหนึ่งก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินถอยหลัง ประมาณสามก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินตามปกติ การเข้าเฝ้า ฯ รับของพระราชทานของตามประเพณีไทย มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - กราบ แล้วคลานมือเข้าไปใกล้พระองค์ ระยะพอรับของได้ - กราบ เอางาน รับพระราชทานของ - คลาน ถอยหลัง
๕) การเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายของแบบพิธีการ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - ถวายคำนับ แล้วเดินเข้าใกล้ - ถวายคำนับ แล้วย่อเข่าซ้าย ตั้งเข่าขวา - ทูลเกล้า ฯ ถวาย โดยยกพานที่คอด้วยมือทั้งสองข้าง และน้อมตัวเล็กน้อย - ลุกขึ้นถอยหลังครึ่งก้าวหรือเต็มก้าว แล้วถวายคำนับ - ถอยหลังประมาณ สามก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินตามปกติ
๖) การเข้าเฝ้า ฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน ใช้ในกรณีทูลลาอุปสมบท ลาไปต่างประเทศ ธูปเทียนใช้ธูปเทียนแพขนาดกลางขึ้นไปการจัดให้ธูปไว้บน เทียนไว้ล่าง บนแพธูปเทียนวางกระทงดอกไม้ซึ่งมีกรวยปิดทั้งหมดนี้วางบนพานที่มีไม้แผ่นรองวางอยู่ เวลายกพานหรือวางพานให้ปลายธูปเทียนอยู่ทางด้านซ้ายมือของผู้ถือการเข้าเฝ้า ฯ เช่นนี้ส่วนมากทำให้ที่รโหฐาน มีลำดับการปฏิบัติดังนี้ - เมื่อเข้าไปในห้องเฝ้า ฯ อย่าสวมรองเท้า วางพานไปข้างตัว แล้วกราบ - ถือพานเดินเข้าไประยะพอสมควรแล้วเปลี่ยนเป็นคลาน - เมื่อคลานเข้าใกล้พอสมควรแล้ววางพานลงข้างตัว แล้วกราบ - ยกพานวางบนโต๊ะ หรือบนพื้นเบื้องหน้าให้ตัวตรง ห่างตัวพอกราบได้ - เปิดกรวยกระทงดอกไม้ แล้วกราบให้ตรงกับพานดอกไม้ แล้วหมอบประณมมือ - ถ้าพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อจบกราบครั้งหนึ่ง - เมื่อกลับ กราบแล้วคลานถอยหลัง - ก่อนจะออกจากห้องเฝ้า ฯ กราบอีกครั้งหนึ่ง
๗) การกราบถวายบังคมลาถึงแก่กรรม ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร หรือพระสงฆ์ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป เมื่อถึงแก่กรรม สมควรที่จะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายบังคมลาพร้อมกับแจ้งการถึงแก่กรรม ต่อสำนักพระราชวัง ในการนี้เจ้าภาพหรือทายาทของผู้ถึงแก่กรรมจะต้องนำสิ่งของเหล่านี้ไปคือ - ดอกไม้กระทง ธูปไม้ระกำหนึ่งดอก เทียนขี้ผึ้งหนึ่งเล่ม - หนังสือกราบถวายบังคมลา ซึ่งมีข้อความว่า "ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้า ฯ ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า..........ข้าราชการสังกัดกระทรวง......... อายุ.......... ปี กราบถวายบังคมลาถึง........... (แก่กรรมหรืออย่างอื่นตามฐานันดรศักดิ์ ของผู้ถึงแก่กรรม) ด้วยโรค.............ที่ ............... เมื่อวันที่.......... เวลา..........น. ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ" สิ่งเหล่านี้วางบนพาน แล้วนำไปวางที่พระบรมฉายาทิสลักษณ์ที่สำนักพระราชวัง แล้วผู้นำเข้าไปก็ถวายความเคารพเป็นเสร็จการข้อปฏิบัติในการจัดพิธี งานพิธีต่าง ๆ ตามประเพณีไทย จะมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ และจะมีพิธีอื่นเช่นพิธีโหร พิธีพราหมณ์ หรือพิธีที่ประชาชนในท้องถิ่นยึดถือ เป็นส่วนประกอบตามความประสงค์ของผู้จัดพิธีนั้น ถ้าเป็นงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นประธานแห่งพิธีนั้นบางครั้งบางงานก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีหรือข้าราชบริพารผู้ใหญ่ทรงเป็นประธาน หรือเป็นประธานของพิธีนั้นแทนพระองค์ ถ้าเป็นพิธีของราชการ หัวหน้าส่วนราชการนั้นก็จะเป็นประธานของพิธี ถ้าเป็นคณะบุคคลประธาน หัวหน้า ผู้นำ หรือนายกของคณะบุคคลนั้น ก็จะเป็นประธานในพิธี ถ้าเป็นพิธีของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวก็จะเป็นประธานของพิธี หรืออาจเรียกว่าเจ้าภาพและถ้าเป็นพิธีส่วนบุคคลเจ้าของผู้จัดให้มีพิธีนั้นก็เป็นเจ้าภาพ
การจัดตั้งที่บูชาในพิธี ถ้าเป็นงานพิธีของส่วนรวม พระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีของส่วนราชการต่าง ๆจะมีการจัดตั้ง ธงชาติไทย โต๊ะหมู่บูชา และพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย เนื่องจากประชาชนชาวไทยมีสถาบันหลักทั้งสามคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพเทอดทูน เวลามีงานพิธีจึงเชิญสัญญลักษณ์ทั้งสามมาประดิษฐานในที่บูชาด้วย การจัดตั้ง ธงชาติ โต๊หมู่บูชา พระพุทธรูป และพระบรมฉายาลักษณ์ ควรตั้งบนยกพื้นเบื้องหน้าและอยู่ตรงกลางของที่ประชุม ถ้างานนั้นมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ด้วยก็ควรตั้งทางขวาสุดของแถวอาสนสงฆ์ที่นิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ และตั้งเป็นลำดับเดียวกันคือ ธงชาติอยู่ทางขวาสุด ถัดมาเป็นโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปอยู่กลาง และพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ทางซ้ายถัดจากโต๊ะหมู่บูชา
ในเวลาเริ่มพิธี ประธานในพิธีต้องแสดงความเคารพสิ่งทั้งสามนั้นด้วย คือ กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชาคำนับธงชาติ และถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ ตามลำดับ ในงานพิธีต่าง ๆ มักจะตั้งที่ทรงกราบด้วย ที่ทรงกราบนี้ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส นอกนั้นไม่ควรใช้ ควรปูพรมหรือผ้าขาวสำหรับให้ประธานในพิธีนั่งกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ จะเหมาะสมที่สุด ถ้าเป็นงานรัฐพิธีและมีการตั้งเก้าอี้รับแขก ก็อนุโลมให้ใช้ที่กราบหรือหมอนกราบก็ได้การกราบบนที่กราบ หรือหมอนกราบนี้ ถือว่าเป็นการกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ด้วย ข้อปฏิบัติในพิธีต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามประเพณีบางประการ มีดังนี้ ๑) เมื่อประธานในพิธีเริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมในพิธีถ้านั่งเก้าอี้ให้ทุกคนยืนขึ้นประณมมือถ้านั่งกับพื้น สถานที่ไม่สะดวกในการยืนก็ไม่ต้องยืน พึงนั่งประณมมือโดยพร้อมเพรียงกัน ๒) ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนข้าราชบริพารในพิธีมงคล พึงยืนอย่างเดียว ไม่ต้องประณมมือ เพราะเป็นผู้เข้าเฝ้าโดยถือว่าเป็นพระราชกุศลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ ผู้อื่นเพียงแต่ทำความเคารพพระองค์เท่านั้น ส่วนชาวบ้านทั่ว ๆ ไปในการเช่นนี้ ควรประณมมือโดยตลอด ๓) การจุดเทียนน้ำมนต์ในขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพควรจุดตอนพระสงฆ์เริ่มสวดมงคลสูตร(อเสวนา จ พา ลานํ ฯลฯ ) พิธีกรต้องเตรียมจุดเทียนชะนวนไว้ตอนพระสวด นโมแปดบทการดับเทียนชะนวนไม่ควรใช้การเป่าดับ ควรใช้วิธีอื่นเช่นมือ กระดาษ หรือใช้วิธีเอาปลายเทียนคว่ำลงแล้วใช้มือดับ ธูปเทียนที่โต๊ะบูชานั้น ใช้เทียนสองเล่ม ธูปสามดอก และต้องจุดเทียนเล่มทางขวาของพระพุทธรูปแล้วจึงจุดเล่มซ้าย จากนั้นจึงจุดธูปสามดอก ปักไว้ในกระถางธูปตามลำดับ ๔) ในพิธีมงคลสมรส มีพิธีหลั่งน้ำ ประธานในพิธีนำคู่บ่าวสาวไปกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชาแล้วจึงนำคู่บ่าวสาวมายังที่หลั่งหรือรดน้ำ พิธีกรรมที่ประธานในพิธีต้องปฏิบัติตอนนี้คือสวมพวงมาลัย สวมมงคลคู่ หลั่งน้ำสังข์ และเจิมหน้าคู่บ่าวสาวตามลำดับ การเจิมหน้าควรเจิมด้วยนิ้วชี้ตามแบบของสำนักพระราชวัง ๕) ในงานอวมงคลทำบุญหน้าศพ ถ้ามีเครื่องทองน้อย (ประกอบด้วยกรวยดอกไม้สามที่ธูปหนึ่งเทียนหนึ่ง)ถ้าเจ้าภาพจะบูชาศพให้หันดอกไม้เข้าหาศพ ถ้าจะให้ศพบูชาพระให้หันดอกไม้ออกไปทางพระเวลาจุด จุดพร้อมกัน โดยจุดบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจึงจุดบูชาศพทีหลัง จุดธูปเทียนบูชาศพใช้ธูปเทียนอย่างละหนึ่งเท่านั้น ๖) พระสงฆ์ที่ถวายศีลเทศน์บนธรรมมาสน์ในพระราชพิธี รัฐพิธีและพิธีต่าง ๆ ที่มีเทศน์ ให้ใช้พัดรอง ไม่ต้องใช้พัดยศ แต่ถ้าถวายศีลนอกธรรมมาสน์ต้องใช้พัดยศ ๗) การกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลในพิธีต่าง ๆ ด้วย ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีที่นิยมคือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาด ใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑีขวดเล็กแก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถาฯลฯ ก็เริ่มกรวดน้ำโดยตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับภาชนะน้ำรินใช้มือซ้ายประคองแล้วว่าบทกรวดน้ำในใจจนจบพร้อมกับพระว่า ยถา ฯลฯ จบ พอพระสงฆ์รับ สพฺพี ฯลฯก็วางแก้วน้ำ ประณมมือรับพรด้วยความเคารพ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงบนพื้นที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือหรือสถานที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควรเช่นถาดหรือขัน รองรับน้ำที่กรวดเสร็จแล้วจึงนำไปเทลงบนดินที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาดเพราะน้ำที่กรวดเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่า ทำด้วยใจใสสะอาด
การแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพอันเป็นมารยาทของคนไทย นิยมการประนมมือการไหว้ และการกราบ
การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนม ให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถานในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว ไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้แค่อก
การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบห้าอย่างได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่หน้าผากให้จรดกับพื้นเป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ ท่าเตรียมตัว นั่งคุกเข่า (ชายตามแบบชาย หญิงตามแบบหญิง) มือทั้งสองทอดวางเหนือเข่าทั้งสองให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดกัน - จังหวะที่หนึ่ง ยกมือขึ้นประนมไว้ระหว่างอก ตามแบบการประนม - จังหวะที่สอง ยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วตามแบบการไหว้ พระรัตนตรัย - จังหวัะที่สาม ก้มตัวลง ปล่อยมือทั้งสองให้ทอดลงกับพื้นโดยแบมือทั้งสองให้ข้อศอกต่อกับเข่าทั้งสองข้าง (สำหรับชาย) และให้ศอกทั้งสองข้างขนาบเข่าทั้งสองไว้(สำหรับหญิง) ให้ระยะมือทั้งสองห่างกันประมาณ ห้านิ้ว ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองแล้วยกมือประนมขึ้นผ่านจังหวะที่หนึ่สอง และสามไปตามลำดับให้ต่อเนื่องกันทำติดต่อกันไปจนครบสามครั้ง เมื่อครบสามครั้งแล้วพึงยกมือขึ้นไหว้ตามแบบพระรัตนตรัย แล้วเปลี่ยนอริยาบทเป็นนั่งพับเพียบหรือลุกขึ้นตามกาลเทศะ การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
๑) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
๒) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
๓) หมอบลงตามแบบหมอบ
๔) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
๕) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
๖) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้งมารยาทไทย มารยาทในอริยาบทต่าง ๆ ตามแบบวัฒนธรรมไทย มีแบบเฉพาะที่พึงปฏิบัติทั้งในเวลาศาสนพิธีและพิธีอื่น ดังต่อไปนี้
๑.การยืน การยืนมีแบบที่ควรทราบและถือปฏิบัติทั้งในเวลายืนตามลำพัง ยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่และยืนแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ
ดังนี้ ๑) การยืนตามลำพัง ควรอยู่ในลักษณะสุภาพ สบาย ขาชิด ตั้งตัวตรง ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา
๒) การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้างลำตัว ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงหรือพระสงฆ์ หรือเป็นการยืนหน้าที่ประทับควรค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อยมืออยู่ในลักษณะคว่ำซ้อนกัน จะเป็นมือข้างไหนทับมือข้างไหนก็ได้ หรือจะประสานมือทั้งสองอย่างหลวมๆ หงายมือทั้งสองสอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือก็ได้
๓) การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี ถ้าแต่งเครื่องแบบให้ยืนตรง แล้วกระทำวันทยาหัตถ์ ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรงแล้วถวายคำนับ การถวายคำนับให้ก้มศีรษะ และส่วนไหล่ลงช้า ๆ ให้ต่ำพอสมควรแล้วกลับมายืนตรง อย่าผงกศีรษะ ถ้าสวมหมวกอื่นที่มิใช่ประกอบเครื่องแบบต้องถอดหมวกก่อนแล้วจึงถวายคำนับ สำหรับหญิง ให้ยืนตรงเท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน ชักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปทางหลังโดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของเท้าที่ยืน ทำพร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้าๆ เมื่อจวนจะต่ำสุดให้ยกมือทั้งสองวางประสานกันบนหน้าขาที่ย่อให้ต่ำลง โดยให้หน้ามือประสานกันและให้ค่อนไปทางเข่า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย จากนั้นเงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักเท้าที่ไขว้กลับที่เดิมและตั้งเข่าตรง
๔) การยืนแสดงความเคารพเมื่อมีการบรรเลงเพลงเคารพ เพลงเคารพได้แก่เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีให้ยืนขึ้นแล้วระวังตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านหรือพระบรมฉายาลักษณ์หรือประธานที่ชวนเชิญถวายพระพรในขณะนั้น ให้ยืนตรงอยู่จนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ต้องถวายความเคารพเมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง เมื่อได้ยินเพลงชาติ ให้ยืนระวังตรง จนจบเพลง แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ ซึ่งใช้ในการเริ่มพิธีสำคัญ ๆ ให้ยืนขึ้น อย่างสุภาพหันหน้าไปทางประธานในพิธี เมื่อจบเพลงแล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี เมื่อได้ยินเพลงมหาชัย ซึ่งใช้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
๕) ในเวลาที่อยู่ต่อหน้าพระที่นั่ง เวลาจะลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนที่ไปไหน ต้องถวายความเคารพก่อนทุกครั้ง การยืนรับเสด็จเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านสำหรับชายยืนตรงถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวกให้ทำวันทยาหัตถ์
๒.การเดิน การเดิน มีการเดินตามลำพัง การเดินกับผู้ใหญ่ การเดินนำเสด็จ และตามเสด็จและการเดินไปในโอกาสต่าง ๆ มีแบบและวิธีปฏิบัติที่ควรทราบ
ดังนี้ ๑) การเดินตามลำพัง ให้เดินอย่างสุภาพ หลังตรง ก้าวเท้าไม่ยาวไม่สั้นเกินควร แกว่งแขนแต่พองาม
๒) การเดินกับผู้ใหญ่ ให้เดินทางซ้ายเยื้องมาทางหลังของผู้ใหญ่ อยู่ในลักษณะนอบน้อมไม่ส่ายตัว โยกศีรษะถ้าเป็นการเดินระยะใกล้ ๆ มือทั้งสองควรประสานกัน
๓) การเดินนำเสด็จและตามเสด็จ ควรปฏิบัติดังนี้ การเดินนำเสด็จ ให้เดินหน้าระยะห่างพอสมควรทางด้านซ้ายของพระองค์ท่าน ในกรณีที่เสด็จพระราชดำเนินบนลาดพระบาท ผู้เดินนำเสด็จต้องไม่เดินบนลาดพระบาทให้เดินในลักษณะเอียงตัวน้อย ๆ มาทางพระองค์ท่าน เพื่อได้สังเกตทราบหากจะประทับยืนค้อมร่างกายส่วนบนเล็กน้อย มือทั้งสองประสานกัน และยกขึ้นเหนือแนวเข็มขัดเล็กน้อยเมื่อถึงที่จะอัญเชิญประทับ ซึ่งเท่ากับกราบบังคมทูล ฯ ว่าถึงที่ประทับแล้วเมื่อจะถอยออกไป ให้ถวายคำนับครั้งหนึ่ง ก่อนที่ผู้นำจะนั่งที่ ต้องถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง การเดินตามเสด็จ ให้เดินเบื้องหลังพระองค์ท่านในอิริยาบถเดินกับผู้ใหญ่ คือเดินอย่างสุภาพหน้ามองตรง อยู่ในอาการสำรวมไม่ยิ้มหัวทักทาย หรือทำความเคารพพูดคุยกับผู้อื่น ๔) การเดินเข้าสู่ที่ชุมชน ควรเดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน ควรก้มตัวลงเล็กน้อยถ้าผู้นั่งเป็นผู้อาวุโสมากก็ก้มตัวให้มาก และระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือร่างกายไปกรายผู้อื่นถ้าไม่มีการกำหนดที่นั่ง ก็ให้นั่งเก้าอี้ที่สมควรโดยสุภาพ อย่าลากเก้าอี้ให้ดังอย่าโยกย้ายเก้าอี้ไปจากระดับที่ตั้งไว้ การเข้าสู่ที่ชุมนุมที่นั่งกับพื้นควรเดินอย่างสุภาพ เวลาผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อนควรค้อมตัวลงให้มากหรือน้อยสุดแท้แต่ระยะใกล้หรือระยะไกล ระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือส่วนของร่างกายไปกรายผู้อื่นถ้าผ่านระยะใกล้มากใช้การเดินเข่า วิธีการเดินเข่าให้นั่งคุกเข่าตัวตรง มืออยู่ข้างลำตัวแกว่งได้เล็กน้อย ยกเข่าขวาซ้ายไปข้างหน้าสลับข้างกันปลายเท้าตั้งช่วงเท้าพองาม ไม่กระชั้นเกินไป การเดินเข่าไม่นิยมใช้ในกรณีเข้าเฝ้าหรือเข้าพบผู้ใหญ่
๕) การเดินในที่ที่พระมหากษัตริย์หรือพระมเหสีประทับอยู่ เวลาเดินผ่านหน้าหรือหลังที่ประทับ ให้ลุกขึ้นจากที่แล้วถวายความเคารพ แล้วเดินอย่างสุภาพเมื่อจะผ่านที่ประทับให้หันไปถวายความเคารพ เมื่อผ่านไปแล้วให้หันไปเคารพ และก่อนจะนั่งที่ใหม่ให้ถวายความเคารพก่อนนั่ง การเดินไปทำธุระใด ๆ เมื่อลุกจากที่และถวายความเคารพแล้วเดินไปยังที่จะทำกิจธุระเมื่อถึงที่ให้ถวายความเคารพแล้วจึงทำกิจธุระนั้น ขณะทำกิจธุระจะนั่งย่อเข่า หรือคุกเข่าหรือหมอบแล้วแต่กรณี ทำกิจธุระเสร็จแล้วลุกขึ้น ถอยหลังหนึ่งก้าว ถวายความเคารพแล้วเดินถอยหลังสามก้าว ถวายความเคารพ แล้วเดินกลับที่นั่ง ก่อนจะนั่งถวายความเคารพอีกครั้ง
๖) การเดินขึ้นลงเมรุ ในงานศพที่เสด็จพระราชดำเนิน ควรปฏิบัติโดยลำดับ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประชาชนทั่วไป พระภิกษุสามเณร เป็นอันดับสุดท้าย การปฏิบัติในการเดินขึ้นสู่เมรุ ให้ลุกจากที่นั่งถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพลงจากเมรุถึงพื้นถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพ ก่อนจะนั่งถวายความเคารพ
๓.การนั่ง การนั่ง การหมอบ และการนั่งคุกเข่าในงาน และในโอกาสต่าง ๆ
มีวิธีปฏิบัติดังนี้ ๑) นั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางชิดกัน เข่าแนบชิดกัน มือทั้งสองวางบนหน้าขาถ้าเป็นเก้าอี้ท้าวแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดบนท้าวแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างนั่งไขว่ห้างควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้ยกหน้าหรือเอนหลัง การนั่งลงศอกในกรณีนั่งเก้าอี้ ให้น้อมตัวลงเงยหน้าเล็กน้อย วางแขนทั้งสองลงบนหน้าขามือประสานกัน
๒) นั่งกับพื้น ให้นั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้าถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ให้เก็บปลายเท้า มือประสานกันไม่ท้าวแขน
๓) การหมอบ ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าก่อน แล้วหมอบลงไปให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้างแขนวางราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน ส่วนมือถึงศอกประสาน หรือประณมแล้วแต่กรณี
๔) การนั่งคุกเข่าให้นั่งตัวตรง วางก้นบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง มือทั้งสองประสานกัน หรือจะวางคว่ำบนหน้าขาก็ได้
๕) การนั่งหน้ารถพระที่นั่ง หรือรถที่นั่ง ก่อนที่จะขึ้นนั่งให้ถวายความเคารพก่อน แล้วขึ้นนั่งโดยหันหลังขึ้นนั่งพร้อมกับยกขาขึ้นตามไปด้วยนั่งตัวตรง ขาชิด เข่าชิด หลังแตะพนักแต่ไม่พิง มือประสานบนตัก สำรวมอิริยาบถแต่ให้ผึ่งผาย ไม่เหลียวหน้าไปทางใด
๔.การคลาน การคลาน เป็นมารยาทที่ปฏิบัติเวลานั่งอยู่กับพื้น แล้วต้องเคลื่อนที่ไปปฏิบัติกิจธุระต่างๆ มีแบบปฏิบัติดังนี้
การคลานลงมือ ใช้ในกรณีไม่ได้ถือของ โดยเริ่มจากนั่งคุกเข่าตัวตรง แล้วโน้มตัวลงเอานิ้วมือจรดพื้นโดยใช้ฝ่ามือติดพื้น นิ้วมือชิดกัน ปลายนิ้วชี้ไปข้างหน้า ปลายเท้าตั้ง คลานโดยสืบเข่าและมือไปข้างหน้า สลับข้างกัน อย่าให้ส่วนหลังโค้ง และอย่าให้หลังแอ่นจะทำให้สะโพกยกให้คลานตรง ๆ อย่าส่ายสะโพก คลานให้ระยะห่างของมือและเท้าเท่ากันตลอดทาง ให้มือขวาห่างกันเท่ากับความกว้างของช่วงไหล่อย่าก้มหน้า การคลานยกของ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคลานโยก ยกของมือเดียวคลานแบบหนึ่ง ยกของสองมือคลานอีกแบบหนึ่งการยกของคลานสำหรับหญิง ถ้าเป็นของเล็กยกมือเดียว ถ้าเป็นของใหญ่ยกสองมือสำหรับผู้ชายจะต้องยกสองมือเสมอ การคลานยกมือเดียว(สำหรับหญิงเท่านั้น) ให้ถือของด้วยมือขวาวางของไว้บนฝ่ามือ แขนขวาตั้งฉากกับลำตัวก้าวเข่าไปข้างหน้า พร้อมกับลากขาอีกข้างหนึ่งตามไป มือซ้ายแตะพื้นอย่างหย่งมือคือปลายนิ้วจรดพื้น ฝ่ามือพ้นพื้น เมื่อเข่าทั้งสองเสมอกันแล้ว ลดเข่าลงพร้อมกันปลายเท้าต้องตั้งอยู่เสมอ ตัวตั้งตรง หน้าตรง ให้ทำสม่ำเสมอตลอดระยะทางโดยไม่หยุดชะงักเป็นตอนๆ ถ้าจะถอยหลังก็คลานถอยหลังไปเหมือนเดินเข่า การคลานยกของสองมือ เป็นการคลานเหมือนคลานเช่น ในการแสดงโขน ละคร โดยถือของสองมือในระดับหน้าท้องแขนตั้งฉาก ไม่กางศอก นั่งคุกเข่า ยกเข่าไปข้างหน้า ตัวเฉียง พร้อมกับวาดเท้าอีกข้างหนึ่งไปหาเท้าของเข่าที่ยกไปปลายเท้าตั้ง ทำเช่นนี้สลับข้างกันไป ระหว่างคลาน ลำตัวตั้งตรง ค่อนข้างยกอก คลานถอยหลัง ยกเท้าข้างหนึ่ง วาดเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปวางเท้าของขาที่ยกไปทำสลับกันไป ถ้าเป็นแบบหญิง ให้ยกเข่าข้างหนึ่งตั้ง ลากขาอีกข้างหนึ่งตาม เมื่อเข่าเสมอกันลดลงพร้อมกัน ให้เข่าที่ตั้งถึงพื้นเข่าของขาที่ลากมาอยู่สูงกว่าพื้นเล็กน้อยยกเข่าข้างที่ไม่จรดพื้นไปข้างหน้า แล้วลากขาของเข่าที่จรดพื้นตามไป แล้วทำเช่นข้างต้นทำเช่นนี้สลับกันไปไม่หยุดชะงัก ส่วนการคลานถอยหลังใช้แบบเดินเข่า ๕.การแสดงความเคารพ
๑) การแสดงความเคารพระหว่างบุคคล การแสดงความเคารพขณะยืนอยู่ทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ในกรณีที่แต่งเครื่องแบบและสวมหมวกใช้วิธีวันทยาหัตถ์ถ้าไม่สวมหมวกใช้วิธีก้มศีรษะในกรณีที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบแต่มีหมวกเฉพาะชายใช้การเปิดหมวกส่วนหญิงจะสวมหมวกหรือไม่ก็ตามใช้ไหว้โดยไม่ต้องถอดหมวก สำหรับชายถ้าจะไหว้ก็ควรถอดหมวกเสียก่อน หรือถ้าไม่ได้สวมหมวกก็ใช้การไหว้ การแสดงความเคารพเมื่อนั่งอยู่กับพื้น ถ้าผู้ที่จะเคารพเป็นผู้ที่มีอาวุโสพอสมควรก็นั่งพับเพียบเก็บเท้ายกมือไหว้พร้อมกับน้อมตัวก้มศีรษะ การแสดงความเคารพเมื่อนั่งเก้าอี้ ถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสน้อย ก็หันไปไหว้ธรรมดาถ้าผู้ที่จะเคารพมีอาวุโสมาก ก็หันไปน้อมตัวไหว้ ในกรณีที่ผู้ที่จะเคารพยังไม่ได้นั่งเก้าอี้ก็ให้เดินไปนั่งเก้าอี้ก่อนแล้วจึงไหว้
๒) การถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระมเหสี ตามประเพณีไทยแต่โบราณใช้การถวายบังคม ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันทำได้ทั้งชายและหญิง แต่โอกาสที่หญิงจะถวายบังคมมีน้อย เพราะโดยมากใช้วิธีกราบการถวายบังคมมีวิธีการ ดังนี้ - นั่งคุกเข่ายกอก วางมือคว่ำบนหน้าขา สำหรับชายแยกเข่าออกเล็กน้อยสำหรับหญิงให้นั่งพองามนั่งบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง - ยกมือขึ้นประนมตรงระหว่างอก แล้วทอดมือที่ประณมนั้นไปข้างหน้าให้ปลายมือต่ำลงระดับท้องแต่ไม่ถึงห้อยพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วยกปลายมือกลับขึ้นวนหัวแม่มือทั้งสองจรดหน้าผากลำตัวเฉพาะเหนือเอวเอนไปข้างหลัง ชายเอนมากกว่าหญิง เงยหน้าขึ้นให้ตาอยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือระดับของลำตัวในขณะมือจรดอยู่ในระดับจรดหน้าผาก จะต้องเอนเล็กน้อยไม่ใช่ตั้งตรง หรือแหงนแค่คอท่าเอนนี้ลำตัวจะโค้งเล็กน้อย ศอกจะถ่างออก - ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า ให้มือลงมาถึงระดับหน้าท้อง ปลายมือต่ำ - ยกปลายมือขึ้นในท่าประณม ปลายมือตั้งพร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอกและยกตัวขึ้นตรง ทำเช่นนี้สามครั้ง แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ การถวายบังคมนี้ ถวายความเคารพเฉพาะพระพักตร์ หรือระยะใกล้พระองค์พอสมควรเมื่อถวายบังคมตอนเสร็จผ่านแล้ว ตอนเสด็จผ่านอีกไม่ต้องกราบ แต่ควรอยู่ในอาการสุภาพ
๖.การเข้าพบผู้ใหญ่ การส่งของและรับของ
๑) การเข้าพบผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่ยืนอยู่ให้ผู้เข้าพบเดินอย่างสุภาพเข้าไปใกล้พอสมควร อย่าให้ตรงหน้าผู้ใหญ่นักไหว้แล้วยืนสำรวมมือประสานกัน ถ้าผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ให้เดินอย่างสุภาพ เมื่อใกล้ผู้ใหญ่ให้ไหว้แล้วนั่งเก้าอี้ อย่านั่งตรงหน้าผู้ใหญ่ทีเดียว หรือจะเดินเข้าไปอย่างสุภาพไปนั่งเก้าอี้แล้วหันมาไหว้ การเข้าพบผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่กับพื้น ให้เดินเข้าไปอย่างสุภาพ เมื่อเข้าไปในระยะพอสมควรแล้วลงคลานลงมือเข้าไปใกล้ นั่งพับเพียบเก็บเท้า ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสน้อยใช้ไหว้แล้วนั่งแบบนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้มีอาวุโสมากใช้กราบแล้วนั่งลงศอกหรือหมอบ
๒) การส่งของให้ผู้ใหญ่ เมื่อผู้ส่งของและผู้รับของนั่งบนเก้าอี้ด้วยกัน ผู้ส่งก็น้อมตัวส่งให้ด้วยมือขวาถ้าของไม่หนัก ถ้าเป็นของหนักควรน้อมส่งให้ด้วยมือทั้งสอง ถ้าผู้รับนั่งอยู่บนเก้าอี้ผู้ส่งเดินเข้ามายืนระยะห่างพอสมควร แล้วโน้มตัวส่งให้ แต่ถ้าผู้ใหญ่อาวุโสมากผู้ส่งอาจเข้าไปนั่งคุกเข่าส่งให้ การส่งของให้ผู้ใหญ่ที่นั่งกับพื้น ผู้ส่งควรเดินเข้าไปในระยะอันควรแล้วลงนั่งพับเพียบ หรือเดินเข้าไปใกล้พอสมควรแล้วคลานไปนั่งส่งของให้แล้วไหว้หรือวางของลงก่อนแล้วไหว้ แล้วยกของส่งให้
๓) การแจกของชำร่วย ตามปกติของชำร่วยจะวางไว้บนพานหรือถาด ผู้แจกจับภาชนะสองมือ ถ้าเป็นพานก็จับที่คอพานแล้วยื่นพานให้ผู้รับแจกหยิบเอาเอง อย่าหยิบส่งให้ เว้นแต่แจกของชำร่วยในงานมงคลสมรสซึ่งเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือพานใส่ของชำร่วยตามแบบดังกล่าว และให้เจ้าสาวหยิบของชำร่วยให้โดยย่อตัวลงเล็กน้อย หรือย่อลงเข่าข้างเดียว หรือนั่งลงเข่าทั้งสองข้าง หรือนั่งพับเพียบตามแต่ผู้รับจะนั่งอยู่บนเก้าอี้หรือพื้นหรือมีอาวุโสอย่างไร แล้วหยิบของชำร่วยส่งให้ผู้รับ
๔) การรับของจากพระสงฆ์ ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่หรือนั่งในที่สูง ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเมื่อได้ระยะพอสมควรให้ยืนตรง น้อมตัวลงไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับพร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย สำหรับชายรับของจากมือของท่านได้ สำหรับหญิงให้แบมือทั้งสองชิดกันคอยรับสิ่งของที่ท่านจะปล่อยลงมาในมือให้ เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของเล็กนิยมน้อมตัวลงไหว้ พร้อมกับสิ่งของในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่และหนักก็ไม่ต้องไหว้รับแล้วค่อยหันตัวกลับเดินไปได้ ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ ให้ผู้รับเดินเข้าไปด้วยอาการสำรวม เมื่อเข้าไปใกล้พอสมควรให้ยืนตรงแล้วนั่งคุกเข่าข้างซ้ายยันเข่าขวา น้อมตัวลงยกมือไหว้ ยื่นมือทั้งสองออกไปรับของเช่นที่กล่าวมาแล้วเมื่อรับของแล้ว ถ้าของนั้นเล็ก ก็น้อมตัวลงไหว้พร้อมกับของนั้นอยู่ในมือถ้าเป็นของใหญ่และหนัก นิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงไหว้แล้วยกของนั้นด้วยมือทั้งสองประคองขึ้น ลุกขึ้นยืนหันหน้ากลับเดินไปได้ ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น ให้เดินเข้าไปด้วยกิริยาสำรวม เมื่อใกล้อาสนที่พระสงฆ์นั่งอยู่พอสมควรนั่งคุกเข่าลงแล้วเดินเข่าหรือคลานเข้าไปจนได้ระยะรับของแล้วนั่งคุกเข่าสำหรับชาย หรือนั่งพับเพียบสำหรับหญิง กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามหนแล้วยื่นมือทั้งสองไปรับของ เมื่อรับของแล้วนิยมวางของนั้นไว้ข้างตัวด้านขวามือกราบสามหน แล้วหยิบของนั้นด้วยมือทั้งสองประคอง เดินเข่าถอยหลังไปจนห่างพอสมควรแล้วลุกขึ้นยืนหันกลับเดินไปได้
๕) การรับของพระราชทานจากผู้อื่นซึ่งเป็นประธานในงาน โดยมากตั้งโต๊ะบูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์เสมอ ผู้รับจึงถือเสมือนรับพระราชทานจากองค์พระมหากษัตริย์เมื่อเข้าไปรับให้ถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ก่อน แล้วรับจากผู้มอบโดยไม่ต้องทำความเคารพผู้มอบเวลารับควรนั่งย่อเข่าข้างหนึ่งรับ เมื่อรับแล้วผู้รับหันหน้าไปทางพระบรมฉายาลักษณ์ถวายคำนับ เดินถอยหลังสามก้าว แล้วจึงกลับตัวเดินเข้าที่ ในการรับไม่ต้องทำ"เอางาน" แต่เมื่อรับแล้วต้องเชิญของเหมือนกับรับพระราชทานจากพระหัตถ์
๗.การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
๑) การเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่าน จะเป็นโดยประทับยานพาหนะ หรือเสด็จพระราชดำเนินก็ตามจะต้องถวายความเคารพในวิธีที่เหมาะสม จะเป็นยืนตรงถวายความเคารพตามเพศ วันทยาหัตถ์กราบหรือไหว้ ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ ใช้ยืนตรงถวายคำนับ หรือวันทยาหัตถ์ หรือกราบ หรือไหว้ ตามความเหมาะสมของสถานที่และการแต่งกาย ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยลาดพระบาท นิยมการนั่งเฝ้า ฯ หรือยืนเฝ้าก็ได้ ให้อยู่ห่างจากลาดพระบาทพอสมควรถ้ายืนเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่านก็ถวายความเคารพตามเพศ ถ้านั่งเฝ้าฯ เมื่อเสด็จ ฯ มาใกล้ผู้เฝ้า ฯ หมอบ ขณะเสด็จ ฯ ตรงตัวกราบ แล้วหมอบอยู่จนเสด็จฯ ผ่านไปแล้ว จึงลุกขึ้นนั่ง หรือจะเพียงกราบเมื่อเสด็จ ฯ ผ่านเท่านั้นก็ได้
๒) การเฝ้า ฯ ในงานที่นั่งเก้าอี้หรือยืนเฝ้าฯ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ผู้เฝ้าฯ ลุกขึ้นหันหน้าไปทางพระองค์เมื่อเสด็จ ฯ ผ่านให้ถวายคำนับ ในขณะประทับอยู่ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการนั่งในงาน ที่เสด็จพระราชดำเนินที่กล่าวแล้วในกรณีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องยืนจนจบเพลงแล้วถวายคำนับ แล้วจึงนั่ง
๓) การเฝ้า ฯ ในที่รโหฐาน ควรเข้าเฝ้าตามประเพณีไทย คือ คลาน หมอบกราบ เพราะเป็นการเฝ้า ฯ ภายใน ไม่เป็นพิธีการเมื่อจะเข้าเฝ้า ฯ ควรถอดรองเท้า โดยปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้ - เข้าไปในที่เฝ้า ฯ กราบ - คลานเข้าไปใกล้พระองค์ในระยะพอสมควร เฉลียงข้าง ไม่เฉพาะพระพักตร์แล้วกราบ - หมอบเฝ้า ฯ มือประณม ระหว่างหมอบนี้จะกราบบังคมทูล หรือฟังพระราชกระแสหรือถวายของแล้วแต่กรณี - เมื่อถวายบังคมลากลับ กราบ คลานถอยหลังมาระยะพอสมควร หรือจนสุดห้อง - เมื่อจะลุกขึ้นในห้องที่เฝ้า ฯ ต้องกราบอีกครั้งหนึ่ง
๔) การเข้าเฝ้ารับพระราชทานของ การเข้ารับพระราชทานของเป็นพิธีการใช้เดินย่อตัวรับพระราชทาน สำหรับแบบไทยหรือในพระราชสำนักหรือการเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานโดยไม่เป็นพิธีการ ควรคลานและหมอบ ดังนี้ การเฝ้า ฯ รับพระราชทานของและเป็นพิธีการมีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - ถวายคำนับตามเพศ แล้วเดินเข้าไปใกล้ พอสมควร - ถวายคำนับตามเพศ แล้วย่อเข่าซ้ายลงตั้งเข่าขวา - เอางาน (การเอางานเป็นการกระทำที่แสดงการถวายความเคารพ วิธีทำคือยกมือขวาขึ้นไปข้างหน้าให้เฉียงจากตัว ประมาณ ๔๕ องศา ปลายมือตรง นิ้วมือชิดกัน แล้วกระดกปลายมือขึ้นแล้วกลับที่เดิมเร็ว ๆ หนึ่งครั้ง ระวังอย่าให้ส่วนที่ยกขึ้นเลยข้อมือไป เวลาทำเอางานเมื่อรับพระราชทานของไม่ใช่พอกระดกมือขึ้น แล้วก็ช้อนมือลงในลักษณะหงายมือเพื่อรับของพระราชทานทีเดียว ต้องลดปลายมือลงเสียก่อน แล้วจึงช้อนมือ หรือแบมือรับพระราชทาน) - รับพระราชทานของ ถ้าเป็นของเล็กน้อย รับด้วยมือขวา ถ้าเป็นของใหญ่รับด้วยมือทั้งสองข้างโดยยกขึ้นเกือบจะพร้อมกับมือที่เอางาน - ลุกขึ้นยืน แล้วเดินถอยหลังครึ่งก้าวหรือหนึ่งก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินถอยหลัง ประมาณสามก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินตามปกติ การเข้าเฝ้า ฯ รับของพระราชทานของตามประเพณีไทย มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - กราบ แล้วคลานมือเข้าไปใกล้พระองค์ ระยะพอรับของได้ - กราบ เอางาน รับพระราชทานของ - คลาน ถอยหลัง
๕) การเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายของแบบพิธีการ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้ - ถวายคำนับ แล้วเดินเข้าใกล้ - ถวายคำนับ แล้วย่อเข่าซ้าย ตั้งเข่าขวา - ทูลเกล้า ฯ ถวาย โดยยกพานที่คอด้วยมือทั้งสองข้าง และน้อมตัวเล็กน้อย - ลุกขึ้นถอยหลังครึ่งก้าวหรือเต็มก้าว แล้วถวายคำนับ - ถอยหลังประมาณ สามก้าว แล้วถวายคำนับ - เดินตามปกติ
๖) การเข้าเฝ้า ฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียน ใช้ในกรณีทูลลาอุปสมบท ลาไปต่างประเทศ ธูปเทียนใช้ธูปเทียนแพขนาดกลางขึ้นไปการจัดให้ธูปไว้บน เทียนไว้ล่าง บนแพธูปเทียนวางกระทงดอกไม้ซึ่งมีกรวยปิดทั้งหมดนี้วางบนพานที่มีไม้แผ่นรองวางอยู่ เวลายกพานหรือวางพานให้ปลายธูปเทียนอยู่ทางด้านซ้ายมือของผู้ถือการเข้าเฝ้า ฯ เช่นนี้ส่วนมากทำให้ที่รโหฐาน มีลำดับการปฏิบัติดังนี้ - เมื่อเข้าไปในห้องเฝ้า ฯ อย่าสวมรองเท้า วางพานไปข้างตัว แล้วกราบ - ถือพานเดินเข้าไประยะพอสมควรแล้วเปลี่ยนเป็นคลาน - เมื่อคลานเข้าใกล้พอสมควรแล้ววางพานลงข้างตัว แล้วกราบ - ยกพานวางบนโต๊ะ หรือบนพื้นเบื้องหน้าให้ตัวตรง ห่างตัวพอกราบได้ - เปิดกรวยกระทงดอกไม้ แล้วกราบให้ตรงกับพานดอกไม้ แล้วหมอบประณมมือ - ถ้าพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อจบกราบครั้งหนึ่ง - เมื่อกลับ กราบแล้วคลานถอยหลัง - ก่อนจะออกจากห้องเฝ้า ฯ กราบอีกครั้งหนึ่ง
๗) การกราบถวายบังคมลาถึงแก่กรรม ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร หรือพระสงฆ์ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป เมื่อถึงแก่กรรม สมควรที่จะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายบังคมลาพร้อมกับแจ้งการถึงแก่กรรม ต่อสำนักพระราชวัง ในการนี้เจ้าภาพหรือทายาทของผู้ถึงแก่กรรมจะต้องนำสิ่งของเหล่านี้ไปคือ - ดอกไม้กระทง ธูปไม้ระกำหนึ่งดอก เทียนขี้ผึ้งหนึ่งเล่ม - หนังสือกราบถวายบังคมลา ซึ่งมีข้อความว่า "ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้า ฯ ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า..........ข้าราชการสังกัดกระทรวง......... อายุ.......... ปี กราบถวายบังคมลาถึง........... (แก่กรรมหรืออย่างอื่นตามฐานันดรศักดิ์ ของผู้ถึงแก่กรรม) ด้วยโรค.............ที่ ............... เมื่อวันที่.......... เวลา..........น. ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ" สิ่งเหล่านี้วางบนพาน แล้วนำไปวางที่พระบรมฉายาทิสลักษณ์ที่สำนักพระราชวัง แล้วผู้นำเข้าไปก็ถวายความเคารพเป็นเสร็จการข้อปฏิบัติในการจัดพิธี งานพิธีต่าง ๆ ตามประเพณีไทย จะมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ และจะมีพิธีอื่นเช่นพิธีโหร พิธีพราหมณ์ หรือพิธีที่ประชาชนในท้องถิ่นยึดถือ เป็นส่วนประกอบตามความประสงค์ของผู้จัดพิธีนั้น ถ้าเป็นงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นประธานแห่งพิธีนั้นบางครั้งบางงานก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีหรือข้าราชบริพารผู้ใหญ่ทรงเป็นประธาน หรือเป็นประธานของพิธีนั้นแทนพระองค์ ถ้าเป็นพิธีของราชการ หัวหน้าส่วนราชการนั้นก็จะเป็นประธานของพิธี ถ้าเป็นคณะบุคคลประธาน หัวหน้า ผู้นำ หรือนายกของคณะบุคคลนั้น ก็จะเป็นประธานในพิธี ถ้าเป็นพิธีของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวก็จะเป็นประธานของพิธี หรืออาจเรียกว่าเจ้าภาพและถ้าเป็นพิธีส่วนบุคคลเจ้าของผู้จัดให้มีพิธีนั้นก็เป็นเจ้าภาพ
การจัดตั้งที่บูชาในพิธี ถ้าเป็นงานพิธีของส่วนรวม พระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีของส่วนราชการต่าง ๆจะมีการจัดตั้ง ธงชาติไทย โต๊ะหมู่บูชา และพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย เนื่องจากประชาชนชาวไทยมีสถาบันหลักทั้งสามคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพเทอดทูน เวลามีงานพิธีจึงเชิญสัญญลักษณ์ทั้งสามมาประดิษฐานในที่บูชาด้วย การจัดตั้ง ธงชาติ โต๊หมู่บูชา พระพุทธรูป และพระบรมฉายาลักษณ์ ควรตั้งบนยกพื้นเบื้องหน้าและอยู่ตรงกลางของที่ประชุม ถ้างานนั้นมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ด้วยก็ควรตั้งทางขวาสุดของแถวอาสนสงฆ์ที่นิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ และตั้งเป็นลำดับเดียวกันคือ ธงชาติอยู่ทางขวาสุด ถัดมาเป็นโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปอยู่กลาง และพระบรมฉายาลักษณ์อยู่ทางซ้ายถัดจากโต๊ะหมู่บูชา
ในเวลาเริ่มพิธี ประธานในพิธีต้องแสดงความเคารพสิ่งทั้งสามนั้นด้วย คือ กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชาคำนับธงชาติ และถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์ ตามลำดับ ในงานพิธีต่าง ๆ มักจะตั้งที่ทรงกราบด้วย ที่ทรงกราบนี้ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส นอกนั้นไม่ควรใช้ ควรปูพรมหรือผ้าขาวสำหรับให้ประธานในพิธีนั่งกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ จะเหมาะสมที่สุด ถ้าเป็นงานรัฐพิธีและมีการตั้งเก้าอี้รับแขก ก็อนุโลมให้ใช้ที่กราบหรือหมอนกราบก็ได้การกราบบนที่กราบ หรือหมอนกราบนี้ ถือว่าเป็นการกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ด้วย ข้อปฏิบัติในพิธีต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามประเพณีบางประการ มีดังนี้ ๑) เมื่อประธานในพิธีเริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมในพิธีถ้านั่งเก้าอี้ให้ทุกคนยืนขึ้นประณมมือถ้านั่งกับพื้น สถานที่ไม่สะดวกในการยืนก็ไม่ต้องยืน พึงนั่งประณมมือโดยพร้อมเพรียงกัน ๒) ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนข้าราชบริพารในพิธีมงคล พึงยืนอย่างเดียว ไม่ต้องประณมมือ เพราะเป็นผู้เข้าเฝ้าโดยถือว่าเป็นพระราชกุศลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ ผู้อื่นเพียงแต่ทำความเคารพพระองค์เท่านั้น ส่วนชาวบ้านทั่ว ๆ ไปในการเช่นนี้ ควรประณมมือโดยตลอด ๓) การจุดเทียนน้ำมนต์ในขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพควรจุดตอนพระสงฆ์เริ่มสวดมงคลสูตร(อเสวนา จ พา ลานํ ฯลฯ ) พิธีกรต้องเตรียมจุดเทียนชะนวนไว้ตอนพระสวด นโมแปดบทการดับเทียนชะนวนไม่ควรใช้การเป่าดับ ควรใช้วิธีอื่นเช่นมือ กระดาษ หรือใช้วิธีเอาปลายเทียนคว่ำลงแล้วใช้มือดับ ธูปเทียนที่โต๊ะบูชานั้น ใช้เทียนสองเล่ม ธูปสามดอก และต้องจุดเทียนเล่มทางขวาของพระพุทธรูปแล้วจึงจุดเล่มซ้าย จากนั้นจึงจุดธูปสามดอก ปักไว้ในกระถางธูปตามลำดับ ๔) ในพิธีมงคลสมรส มีพิธีหลั่งน้ำ ประธานในพิธีนำคู่บ่าวสาวไปกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะบูชาแล้วจึงนำคู่บ่าวสาวมายังที่หลั่งหรือรดน้ำ พิธีกรรมที่ประธานในพิธีต้องปฏิบัติตอนนี้คือสวมพวงมาลัย สวมมงคลคู่ หลั่งน้ำสังข์ และเจิมหน้าคู่บ่าวสาวตามลำดับ การเจิมหน้าควรเจิมด้วยนิ้วชี้ตามแบบของสำนักพระราชวัง ๕) ในงานอวมงคลทำบุญหน้าศพ ถ้ามีเครื่องทองน้อย (ประกอบด้วยกรวยดอกไม้สามที่ธูปหนึ่งเทียนหนึ่ง)ถ้าเจ้าภาพจะบูชาศพให้หันดอกไม้เข้าหาศพ ถ้าจะให้ศพบูชาพระให้หันดอกไม้ออกไปทางพระเวลาจุด จุดพร้อมกัน โดยจุดบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจึงจุดบูชาศพทีหลัง จุดธูปเทียนบูชาศพใช้ธูปเทียนอย่างละหนึ่งเท่านั้น ๖) พระสงฆ์ที่ถวายศีลเทศน์บนธรรมมาสน์ในพระราชพิธี รัฐพิธีและพิธีต่าง ๆ ที่มีเทศน์ ให้ใช้พัดรอง ไม่ต้องใช้พัดยศ แต่ถ้าถวายศีลนอกธรรมมาสน์ต้องใช้พัดยศ ๗) การกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลในพิธีต่าง ๆ ด้วย ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีที่นิยมคือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาด ใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑีขวดเล็กแก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบท ยถาฯลฯ ก็เริ่มกรวดน้ำโดยตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับภาชนะน้ำรินใช้มือซ้ายประคองแล้วว่าบทกรวดน้ำในใจจนจบพร้อมกับพระว่า ยถา ฯลฯ จบ พอพระสงฆ์รับ สพฺพี ฯลฯก็วางแก้วน้ำ ประณมมือรับพรด้วยความเคารพ การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงบนพื้นที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือหรือสถานที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควรเช่นถาดหรือขัน รองรับน้ำที่กรวดเสร็จแล้วจึงนำไปเทลงบนดินที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาดเพราะน้ำที่กรวดเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่า ทำด้วยใจใสสะอาด
แนะนำนักศึกษาฝึกสอน
รายชื่อนักศึกษาฝึกสอนโรงเรียนวัดล่าง(บวรวิทยายน3) ประจำปีการศึกษา 2551 ภาคเรียนที่ 2 โปรแกมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)